เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ (1)
เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ (2)
เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ (3)
เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ (4)
เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ (5)
เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ (6)

ขาย เรื่องใต้บรรทัด - พิริยะดิศ มานิตย์ ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ ราคาที่ดีที่สุด

5
34
การให้คะแนน
26
ขายแล้ว
฿300
ยี่ห้อ
Sommadhi(สมมติ)
เรือจาก
จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รายละเอียดสินค้า

เปิดตัวหนังสือวิชาการชุดงานใหม่ ว่าด้วยวรรณกรรม - ON LITERATURE เรื่องใต้บรรทัด : ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ หากคุณสนใจ ศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศส . เพศ . จิตวิเคราะห์ ต้องไม่พลาด บทความวิชาการที่เปิดเปลือยเรื่องเพศในมุมมองของจิตวิเคราะห์ที่ซ่อนอยู่ในศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศส คุณจะมอง ‘เจ้าชายน้อย’ และ ‘ก็องดิดด์’ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป === บางส่วนจาก คำนำผู้เขียน . . , บทความทุกเรื่องมีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ การใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ตีความงานวรรณกรรมและศิลปะฝรั่งเศส ทฤษฎีดังกล่าวช่วยให้เห็นถึงความหมายระหว่างบรรทัด โดยเฉพาะความหมายอันเกี่ยวแก่เพศ ทั้งนี้ วรรณกรรมที่ทำทีว่าเล่าเรื่องหนึ่ง มักซ่อนอีกเรื่องหนึ่งไว้อยู่เสมอ คุณูปการของจิตวิเคราะห์ก็คือเป็นกล้องช่วยส่องให้เห็น  'เรื่องใต้บรรทัด' === บางส่วนจากบท ก็องดิดด์ และรักร่วมเพศแบบแฝงเร้น . . , ก็องดิดด์ดูมีทั้งลักษณะชายและหญิงปะปนกัน เขาเป็นชายโดยเพศสภาพ นิยมอิสตรี ชอบใช้ปืนผาหน้าไม้ แสดงความก้าวร้าวที่เป็นวิถีตามสัญชาตญาณแห่งเพศผู้ อย่างไรก็ดี ลักษณะชายนั้นกลับเจือปนด้วยลักษณะหญิง เพราะทุกครั้งที่ก็องดิดด์สำแดงบทบาทเชิงรุกแห่งความเป็นชาย ความเป็นชายกลับเป็นปัจจัยเอื้อให้เขาได้สำแดงความเป็นหญิง หรือการได้แสดงบทเป็นผู้ถูกกระทำไปด้วยในเวลาเดียวกัน === บางส่วนจากบท ข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ว่าด้วย 'งู' ของเจ้าชายน้อย . . , การที่จู่ๆ ‘เครื่องบิน’ ของนักบินขัดข้อง ร่อนลงกลางทะเลทรายซาฮารา ไม่อาจ ‘เหินฟ้า’ ต่อไปได้ น่าจะเชื่อมโยงกับความฝังใจในวัยเด็กของนักบินเอง ที่ ‘งู’ ของตนมิอาจ ‘ผงาด’ และขู่ให้ใครหวาดกลัวได้ จนต้องห่อ ‘เหี่ยว’ หมดกำลังใจไป ทดลองอ่าน คลิก คำนำผู้เขียน จิตวิเคราะห์ในศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศส เพลงนี้สั่งให้ฆ่าพ่อ | ลา มาร์แซแยส เพลงชาติฝรั่งเศส ┈ ┉ ┈ เรื่องใต้บรรทัด : ว่าด้วยการตีความศิลปะและวรรณกรรมฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ ศิลปะ-วรรณกรรมฝรั่งเศส • เพศ • จิตวิเคราะห์ พิริยะดิศ มานิตย์ : เขียน สิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร : บรรณาธิการเล่ม ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม ฉบับพิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2564 ความหนา : 264 หน้า ราคาปก 300 บาท ISBN 978-616-562-023-9 - สารบัญ - คำนำผู้เขียน บทละคร 1. ความวิปริตทางเพศของอาร์นอล์ฟแห่ง เลกอล เด ฟาม 2. อ็องโดรม้ากค์ : ความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความรู้สึกที่เธอมีต่อปีรุส นวนิยาย - เทพนิยาย - เรื่องสั้น 3. การแสวงหาความเป็นชายในนิทานเรื่อง "แมวใส่บู๊ต" 4. ชายเคราสีน้ำเงิน : ห้องต้องห้าม พรหมจรรย์ ทาบู และฆาตกรต่อเนื่อง 5. ก็องดิดด์ และรักร่วมเพศแบบแฝงเร้น 6. ความทรงจำในวัยเด็กของ เอ็มมา โบวารี 7. แม่และโสเภณี ใน แม่ก้อนไขมัน 8. ข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ว่าด้วย 'งู' ของเจ้าชายน้อย กวีนิพนธ์ - บทเพลง 9. 'เอดิปัส' ใน ลา มาร์แซแยส 10. ความสัมพันธ์แม่-ลูก ในบทกวี "กลิ่นแดนไกล" ของโบดแลร์ ทัศนศิลป์ 11. ภาพจิตรกรรม Les Hasards heureux de l'escarpolette : ภาพโป๊แต่ไม่เปลือย 12. สาวน้อยนักอ่าน ของฟราโกนาร์ อัตชีวประวัติ 13. เพศวิถีของรุสโซ

จากร้านเดียวกัน

คุณอาจชอบ